วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

มารยาทในการเต้นลีลาศ


มารยาททางสังคมในการลีลาศ ที่ควรทราบมีดังนี้
การเตรียมตัว
1. อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด กำจัดกลิ่นต่าง ๆ ที่น่ารังเกียจ เช่น กลิ่นปาก กลิ่นตัว เป็นต้น
2. แต่งกายให้สะอาด ถูกต้อง และเหมาะสมตามกาละเทศะ ซึ่งจะเป็นหารสร้างความมั่นใจในบุคลิกภาพของตนเอง
3. ควรใช้เครื่องสำอางที่มีกลิ่นไม่รุนแรงจนสร้างความรำคาญให้กับผู้ที่อยู่ใกล้ชิด หรือกับคู่ลีลาศของตน
4. มีการเตรียมตัวล่วงหน้าโดยการฝึกซ้อมลีลาศในจังหวะต่าง ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจในการลีลาศ
5. สุภาพบุรุษจะต้องให้เกียรติสุภาพสตรีและบุคคลอื่นในทุกสถานการณ์ และจะต้องไปรับสุภาพสตรีที่ตนเชิญไปร่วมงาน
6. ไปถึงบริเวณงานให้ตรงตามเวลาที่ระบุได้ในบัตรเชิญ

ก่อนออกลีลาศ
1. พยายามทำตัวให้เป็นกันเอง และสร้างความสนิทสนมคุ้นเคยกับเพื่อนใหม่ แนะนำเพื่อนหญิงของตนให้บุคคลอื่นรู้จัก (ถ้ามี)
2. ไม่ดื่มสุรามากจนครองสติไม่อยู่ ถ้ารู้สึกตัวว่าเมามาก ไม่ควรเชิญสุภาพสตรีออกลีลาศ
3. ไม่ควรเชิญสุภาพสตรีที่ไม่รู้จักออกลีลาศ ยกเว้นจะได้รับการแนะนำให้รู้จักกันเสียก่อน
4. สุภาพบุรุษควรแน่ใจว่าสุภาพสตรีที่ตนเชิญออกลีลาศ สามารถลีลาศจังหวะนั้น ๆ ได้หากไม่แน่ใจควรสอบถามก่อน
5. สุภาพบุรุษควรเชิญสุภาพสตรีออกลีลาศด้วยกริยาที่สุภาพ ถ้าถูกปฏิเสธก็ไม่ควรเซ้าซี้จนเป็นที่น่ารำคาญ
6. สุภาพสตรี ไม่ควรปฏิเสธเมื่อมีสุภาพบุรุษมาขอลีลาศด้วย หากจำเป็นจะต้องปฏิเสธด้วยเหตุผลใดก็ตาม จะต้องปฏิเสธด้วยถ้อยคำที่สุภาพนุ่มนวล และไม่ควรลีลาศกับสุภาพบุรุษอื่นในจังหวะที่ตนได้ปฏิเสธไปแล้ว
7. ถ้าในกลุ่มสุภาพสตรีที่นั่งอยู่มีบุคคลอื่นหรือสุภาพบุรุษอื่นนั่งอยู่ด้วย จะต้องกล่าวคำขออนุญาตจากบุคคลเหล่านั้นก่อนที่จะเชิญสุภาพสตรีออกลีลาศ
8. ก่อนออกลีลาศควรฟังจังหวะให้ออกเสียก่อน และแน่ใจว่าสามารถลีลาศในจังหวะนั้นได้
9. ไม่ควรออกลีลาศกับคู่เพศเดียวกัน
ขณะลีลาศ
1. ขณะที่พาสุภาพตรีไปที่ฟลอร์ลีลาศ สุภาพบุรุษควรเดินนำหน้า หรือเดินเคียงคู่กันไป เพื่อให้ความสะดวกแก่สุภาพสตรี และเมื่อไปถึงฟลอร์ลีลาศ ควรให้เกียรติสุภาพสตรีเดินขึ้นไปบนฟลอร์ลีลาศก่อน
2. ในการจับคู่ สุภาพบุรุษต้องกระทำด้วยความนุ่มนวลสุภาพ และถูกต้องตามแบบแผนของการลีลาศ ไม่ควรจับคู่ในลักษณะที่รัดแน่นหรือยืน ห่างจนเกินไป การแสดงออกที่น่าเกลียดบางอย่างพึงละเว้น เช่น การเอารัดเอาเปรียบคู่ลีลาศ เป็นต้น
3. จะต้องลีลาศไปตามจังหวะ แบบแผน และทิศทางที่ถูกต้องไม่ย้อนแนวลีลาศ เพราะจะเป็นอุปสรรคกีดขวางการลีลาศของคู่อื่น ถ้ามีการชนกันเกิดขึ้นในขณะลีลาศ จะต้องกล่าวคำขอโทษหรือขออภัยด้วยทุกครั้ง
4. ไม่สูบบุหรี่ เคี้ยวหมากฝรั่ง หรือของขบเคี้ยวใด ๆ ในขณะลีลาศ
5. ให้ความสนใจกับคู่ลีลาศของตน ความอบอุ่นเกิดขึ้นได้จากการยิ้มแย้มแจ่มใสหรือคำกล่าวชม ไม่แสดงอาการเบื่อหน่ายหรือหันไปสนใจคู่ลีลาศของคนอื่น และอย่าทำตนเป็นผู้กว้างขวางช่างพูดช่างคุยกับคนทั่วไปในขณะลีลาศ
6. ควรลีลาศด้วยความสนุกสนานร่าเริง
7. ไม่ควรพูดเรื่องปมด้อยของตนเองหรือของคู่ลีลาศ
8. ไม่ควรเปลี่ยนคู่บนฟลอร์ลีลาศ
9. ควรลีลาศในรูปแบบหรือลวดลายที่ง่าย ๆ ก่อน แล้วจึงเพิ่มรูปแบบหรือลวดลายที่ยากขึ้นตามความสามารถของคู่ลีลาศ เพราะจะทำให้คู่ลีลาศรู้สึกเบื่อหน่าย และไม่ควรพลิกแพลงรูปแบบการลีลาศมากเกินไปจนมองดูน่าเกลียด
10. ถือว่าเป็นการไม่สมควรที่จะร้องเพลงหรือแสดงออกอย่างอื่นในขณะลีลาศ หรือลีลาศด้วยท่าทางแผลง ๆ ด้วยความคึกคะนอง
11. ไม่ควรสอนลวดลายหรือจังหวะใหม่ ๆ บนฟลอร์ลีลาศ
12. ไม่ควรลีลาศด้วยลวดลายที่ใช้เนื้อที่มากเกินไป ในขณะที่มีคนอยู่บนฟลอร์เป็นจำนวนมาก
13. ในการลีลาศแบบสุภาพชน ไม่ควรแสดงความรักในขณะลีลาศ
14. การนำในการลีลาศเป็นหน้าที่ของสุภาพบุรุษ สุภาพสตรีไม่ควรเป็นฝ่ายนำ ยกเว้นเป็นการช่วยในความผิดพลาดของสุภาพบุรุษ เป็นครั้งคราวเท่านั้น
15. การให้กำลังใจ การให้เกียรติ และการยกย่องชมเชยด้วยใจจริง จะช่วยให้คู่ลีลาศเกิดความรู้สึกอบอุ่นและเชื่อมั่นในตนเองยิ่งขึ้น คู่ลีลาศที่ดี จะต้องช่วยปกปิดความลับหรือปัญหาที่เกิดขึ้นและมองข้ามจุดอ่อนของคู่ลีลาศ
16. ไม่ควรผละออกจากคู่ลีลาศโดยกะทันหัน หรือก่อนเพลงจบ

ประวัติลีลาศ

ความหมาย
            ลีลาศ” หมายถึงการเต้นเพื่อความสนุกสนานและได้พบกับบุคคลอื่นๆ ในสังคมในงานสังสรรค์ หรืองานราตรีสโมสร ลีลาศนี้ มีมานับเป็นพันๆ ปีแล้ว แต่เพิ่งมีหลักฐานแน่ชัดเมื่อประมาณ ปี ค.ศ.1400 ซึ่งได้อธิบายถึงการก้าวเดิน และดนตรี
            การเต้นรำแบบบอลรูม (Ballroom Dancing) เปรียบเสมือนสะพานเชื่อมช่องว่างระหว่างชาติและเผ่าพันธุ์ต่างๆ ถึงแม้ว่าชาวตะวันตกจะนิยมกันอย่างมาก แต่การเต้นรำแบบบอลรูมก็เป็นที่ยอมรับของชนทุกชาติ



ประวัติความเป็นมา
            ในสมัยดึกดำบรรพ์ ชาวสปาร์ต้า จะฝึกกีฬา เช่น ชกมวยยิงธนูวิ่งขี่ม้า ล่าสัตว์ รวมการ เต้นรำ ส่วนชาวโรมันมีการเต้นรำเพื่อแสดงความกล้าหาญ ผู้ที่มีชื่อเสียงในการเต้นตำของโรมันคือ ซีซีโร (Cicero : 106 – 43 B.C.) 
            การเต้นรำแบบบอลรูม เริ่มตั้งแต่สมัยพระนางเจ้าอลิซาเบ็ธที่ ซึ่งสมัยนั้นครั่งไคล้การเต้นรำที่เรียกว่า โวลต้า” (Volta) ซึ่งมีการจับคู่แบบวอลซ์ในปัจจุบัน การเต้นแบบโวลต้านั้นฝ่ายชายจะช่วยให้ฝ่ายหญิงกระโดดขึ้นในอากาศด้วย ซึ่งพระราชินีเอง ทรงพอพระทัยมาก
            เช็คสเปียร์ (Shakespeare : 1564 – 1616) อยู่ในกรุงลอนดอนหลายปี ได้กล่าวไว้ในบทละครเรื่องพระเจ้าเฮนรี่ที่ ว่า มีการเต้นอีกอย่างเรียกว่า โคแรนโท หรือ โคแรนเท” (Courante) 
            สมัยศตวรรษที่ 17 การเต้นรำมีแบบแผนมากขึ้น จอห์น วีเวอร์ และ จอห์น เพทฟอร์ด (John Weaver & John Playford) เป็นนักเขียนชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียง เพลฟอร์ด ได้เขียนเกี่ยวกับการเต้นรำแบบเก่าของอังกฤษ ซึ่งรวบรวมได้ถึง 900 แบบอย่าง
            แซมมวล ไพปส์ (Samuel Pepys : 1632 – 1704) ได้เขียนบันทึกประจำวันในสมัยการปกครองของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ และได้บันทึกไว้เมื่อ ค.ศ.1662 ถึงงานราตรีสโมสร ซึ่งพระเจ้าชาร์ลส์ที่ ทรงพาสุภาพสตรีออกเต้น “โคแรนโท” (Coranto) 
            การเต้นรำได้แพร่เข้ามาประเทศฝรั่งเศส เปลี่ยนมาเรียกเป็นสำเนียงฝรั่งเศสว่า คองเทร ดองเซ่ (Conterdanse) พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงโปรดปรานมากและต่อมาได้แพร่หลายไปยังประเทศอิตาลีและ สเปน
            การเต้นรำแบบบอลรูมในจังหวะวอลซ์ (Waltz) ได้เริ่มขึ้นประมาณ ค.ศ. 1800 เป็นจังหวะที่นิยมกันมากในสมัยนั้น
            ในสมัยพระนางเจ้าวิคตอเรีย (The Victorian Era : 1830 – 80) การไปงานราตรีสโมสร หนุ่มสาวจะไปเป็นคู่ๆ ต้องต่างคนต่างไป และฝ่ายชายจะขอลีลาศกับหญิงคนเดิมมากกว่า ครั้ง ไม่ได้ หญิงโสดก็จะต้องมีพี่เลี้ยงไปด้วย ฝ่ายหญิงจะมีบัตรเล็กๆ สีขาว จดบันทึกไว้ว่า เพลงใดมีชายขอจองลีลาศไว้บ้าง
            ในศตวรรษที่ 20 นิโกรในอเมริกา มีบทบาทมากทางด้านดนตรี และลีลาต่างๆ ในนิวออร์ลีน มีการเล่นดนตรีแบบพื้นเมืองของอาฟริกา ตอนแรกเรียกว่าจังหวะ (Syncopation) มีท่วงทำนองเร้าใจ และเป็นจุดเริ่มต้นของยุคแจ๊ส (Jazz Age) สมัยเริ่มสงครามโลกครั้งที่ ใหม่ๆ ดนตรีจังหวะนี้ก็เข้ามาแพร่หลายในอังกฤษ พร้อมๆ กันนั้นก็มีจังหวะพื้นเมืองอีกจังหวะหนึ่งมาจากอเมริกาใต้ คือ จังหวะแทงโก (Tango) ซึ่งมีจุดกำเนิดมาจากเพลงพื้นเมืองของพวกคาวบอยในอาร์เยนตินา ยุคนั้นเรียกว่า แร็กโทม์ (Rag – Time) ซึ่งการเต้นไม่มีกฏเกณฑ์อะไร 
            ต่อมาประมาณปี ค.ศ.1929 มีครูลีลาศในอังกฤษรวมกันเป็นคณะกรรมการปรับปรุงการลีลาสแบบบอลรูมขึ้นมาเป็นมาตรฐาน 4จังหวะ (ถ้ารวมควิกวอลซ์ด้วยจะเป็น จังหวะ) ถือว่าเป็นแบบฉบับของชาวอังกฤษ คือ วอลซ์ (Waltz) ควิกสเต็ป (Quickstep) แทงโก (Tango) และ ฟอกซ์ทรอต (Fox-trot) 
            เนื่องจากอิทธิพลของยุคแจ๊ส (Jazz Age) ก็ได้เกิดการลีลาศแบบลาตินอเมริกา ซึ่งจัดไว้เป็นมาตรฐาน จังหวะ (ถ้ารวมพาโซโดเบิ้ล ก็จะเป็น จังหวะ) คือ รัมบ้า (Rumba) ชา ชา ช่า (Cha – Cha – Cha) แซมบ้า (Samba) และไจว์ฟ (Jive) โดยคัดเลือกจากการลีลาศประจำชาติต่างๆ เช่น แซมบ้าจากบราซิล รัมบ้าจากคิวบา พาโซโดเบิ้ลจากสเปน และไจว์ฟจากอเมริกา



การลีลาศในประเทศไทย
            การลีลาศในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานยืนยันได้แน่ชัด แต่จากบันทึกของแหม่มแอนนา ทำให้มีหลักฐานเชื่อได้ว่า เมืองไทยมีลีลาศมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ และบุคคลที่ได้รับการยกย่องให้เป็นนักลีลาศคนแรกก็คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามบันทึกของแหม่มแอนนาเล่าว่า ในช่วงหนึ่งของการสนทนาได้พูดถึงการเต้นรำ ซึ่งแหม่มแอนนาพยายามสอนพระองค์ท่านให้รู้จักการเต้นรำแบบสุภาพ ซึ่งเป็นที่นิยมของชาติตะวันตก พร้อมกับแสดงท่า และบอกว่าจังหวะวอลซ์นั้นหรูมาก มักนิยมเต้นกันในวังยุโรป ซึ่งพระองค์ท่านก็ฟังอยู่เฉยๆ ไม่ออกความเห็นใดๆ แต่พอแหม่มแอนนาแสดงท่า พระองค์ท่านกลับสอนว่าใกล้เกินไปแขนต้องวางให้ถูก และ พระองค์ท่านก็เต้นให้ดู จนแหม่มแอนนาถึงกับงง จึงทูลถามว่าใครเป็นคนสอนให้พระองค์ ท่านก็ไม่ตอบจึงไม่รู้ว่าใครเป็นผู้สอนพระองค์ สันนิษฐานกันว่าพระองค์ท่านคงจะศึกษาจากตำราด้วยพระองค์เอง
            ในสมัยรัชกาลที่ 5 การเต้นรำยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก คงมีแต่เจ้านายในวังที่เต้นกัน ส่วนใหญ่มักจะเต้นจังหวะวอลซ์เพียงอย่างเดียว และบางครั้งได้มีการนำเอาจังหวะวอลซ์ไปสอดแทรกในการแสดงละครด้วย เช่น เรื่องพระอภัยมณี ตอนที่กล่าวถึงนางละเวงได้กับพระอภัยมณี
            ในสมัยรัชกาลที่ ทุกๆ ปีในงานเฉลิมพระชนมพรรษาก็มักจะจัดให้มีการเต้นรำกันใน พระบรมมหาราชวัง โดยมีองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นประธาน ซึ่งบรรดาทูตานุทูตทั้งหลายต้องเข้าเฝ้า ส่วนแขกที่ชิญนั้นต้องได้รับบัตรเชิญจึงจะเข้าไปในงานได้
            ในสมัยรัชกาลที่ 7 การเต้นรำได้รับความนิยมมากขึ้น ได้เปิดให้มีการเต้นกันตามสถานที่ต่างๆกันมาก เช่น ที่ห้อยเทียนเหลา เก้าชั้น โลลิต้า และคาร์เธ่ย์
            ในพุทธศักราช 2475 หม่อมเจ้าวรรณไวทยากรวรรณ กับนายหยิบ ณ นคร ได้ปรึกษากันและจัดตั้งสมาคมที่เกี่ยวกับการเต้นรำขึ้น ชื่อ “ สมาคมสมัครเล่นเต้นรำ” โดยมีหม่อมเจ้าไวทยากรวรวรรณ เป็นประธาน นายหยิบ ณ นคร เป็นเลขาธิการสมาคม และมีคณะกรรมการอีกหลายท่าน เช่น หลวงเฉลิม สุนทรกาญจน์ นายแพทย์เติม บุนนาค พระยาปกิตกลสาร พระยาวิชิตหลวงสุขุม นัยประดิษฐ์ หลวงชาติตระการโกศล สถานที่ตั้งสมาคมนั้นไม่แน่นนอนคือวนเวียนไปตามบ้านสมาชิกแล้วแต่สะดวก การตั้งเป็นสมาคมครั้งนี้ไม่ได้จดทะเบียนให้เป็นที่ถูกต้องแต่อย่างใด สมาชิกส่วนมากเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งได้พาบุตรหรือบุตรีเข้าฝึกหัดด้วย ทำให้สมาชิกเพิ่มขึ้นมาอย่างรวดเร็ว มักจัดให้มีงานเต้นรำขึ้นบ่อยๆ ที่สมาคมคณะราษฎร์ วังสราญรมย์ และได้จัดแข่งขันการเต้นรำขึ้นครั้งแรกที่วังสราญรมย์นี้ ผู้ชนะเลิศเป็นแชมเปี้ยนคือ พลเรือตรีเฉียบ แสงชูโต และคุณประนอม สุขุม
            ในปี พ.ศ. 2476 นักศึกษากลุ่มหนึ่งเห็นว่า คำว่า “ เต้นรำ ” เมื่อผวนแล้วจะฟังไม่ไพเราะหู ดังนั้นหม่อมเจ้าไวทยากรวรวรรณ จึงบัญญัติศัพท์คำว่า “ลีลาศ” ขึ้นแทนคำว่า เต้นรำ” นับแต่บัดนี้เป็นต้นมา ต่อมาสมาคมสมัครเล่นเต้นรำก็สลายตัวไปกลายเป็น สมาคมครูลีลาศแห่งประเทศไทย” โดยมีนายหยิบ ณ นคร เป็นผู้ประสานงานจนสามารถส่งนักลีลาศไปแข่งยังต่างประเทศได้ รวมทั้งให้การต้อนรับนักลีลาศชาวต่างชาติที่มาเยี่ยมหรือแสดงในเมืองไทย ในช่วงที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ เข้าร่วมสงครามโลกครั้งนี้ด้วย จึงทำให้การลีลาศซบเซาไป
            เมื่อสงครามโลกครั้งที่ สิ้นสุดลง ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2488 วงการลีลาศของเมืองไทยก็เริ่มคึกคักมีชีวิตชีวาขึ้นดังเดิม มีโรงเรียนสอนลีลาศเปิดขึ้นหลายแห่ง โดยเฉพาะสาขาบอลรูมหรือ Modern Ballroom Branch อาจารย์ยอด บุรี ซึ่งไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษแล้วนำกลับมาเผยแพร่ใน เมืองไทย ทำให้การลีลาศซึ่ง ศาสตราจารย์ศุภชัย วานิชวัฒนา เป็นผู้นำอยู่ก่อนแล้วเจริญขึ้นเป็นลำดับ
            ต่อมาได้มีบุคคลชั้นนำในการลีลาศประมาณ 10 ท่าน ซึ่งเคยเป็นผู้ชนะเลิศในการแข่งขันในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ เช่น คุณกวี กรโกวิท คุณอุไร โทณวนิก คุณจำลอง มาณยมฑล คุณปัตตานะ เหมะสุจิ โดยมีนายแพทย์ประสบ วรมิศร์เป็นผู้ประสานงานติดต่อพบปะปรึกษาหารือ และมีแนวความคิดจะรวมนักลีลาศทั้งหมดให้อยู่ในสมาคมเดียวกัน เพื่อเป็นการผนึกกำลังและช่วยกันปรับปรุงมาตรฐานการลีลาศทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ ซึ่งทุกคนเห็นพ้องต้องกัน จึงมีการร่างระเบียบข้อบังคับขึ้นมา ได้ยื่นจดทะเบียนเป็นสมาคมตามกฎหมาย เมื่อวันที่ สิงหาคม พ.ศ. 2491 ซึ่งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้อนุญาติให้จัดตั้ง “ สมาคมลีลาศแห่งประเทศไทย ” เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2491 โดยมีหลวงประกอบนิติสาร เป็นนายกสมาคมคนแรก ปัจจุบันสมาคมแห่งประเทศไทย เป็นสมาชิกของสภาการลีลาศนานาชาติ ด้วยประเทศหนึ่ง
            หลังจากนั้นการลีลาศได้รับความนิยมแพร่หลายเป็นอย่างมาก มีการจัดตั้งสมาคมลีลาศขึ้น มีสถานลีลาศเปิดเพิ่มขึ้น มีการจัดส่งนักกีฬาลีลาศไปแข่งขันในต่างประเทศ และจัดแข่งขันลีลาศนานาชาติขึ้นในประเทศไทย ในสมัยจอมพลสฤษณ์ ธนะรัตต์ ได้ให้เรียนสอนลีลาศต่างๆ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และมีการกำหนดหลักสูตรลีลาศขึ้นอย่างเป็นแบบแผน มีสถาบันที่เปิดสอนลีลาศเกิดขึ้นเกือบทุกจังหวัด ปัจจุบันมีหลักสูตรการสอนลีลาศในสถานศึกษา ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษา จนถึงระดับอุดมศึกษา
 

การแพทย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์และใกล้ประวัติศาสตร์ของประเทศไทย โดย นายแพทย์สุด แสงวิเชียร

ประเทศไทยมีการแพทย์สองอย่าง คือ
๑. การแพทย์พื้นบ้าน ชาวบ้านได้ใช้กันมาเป็นเวลานาน ขณะนี้ประชาชนจำนวนมากก็ยังใช้กันอยู่ ปัจจุบันเรียกว่า การแพทย์แผนโบราณไม่ได้ใช้ว่า "การแพทย์เดิมหรือการแพทย์พื้นบ้านของไทย"
๒. การแพทย์แผนปัจจุบันนำเข้ามาโดยชาวตะวันตก เรียกกันในขณะนี้ว่า "การแพทย์แผนปัจจุบัน" การ

แพทย์แผนโบราณอาจเกิดขึ้นมาเป็นเวลานาน ขณะที่มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบันรู้จักอยู่กันเป็นหมู่เหล่า รู้จักเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ จากผลของการขุดค้นพบว่ามนุษย์ที่อาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้และรวมกันเป็นหมู่เหล่านั้น จะปรากฏเมื่อประมาณ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว ร่องรอยที่เชื่อว่าอาจมีบุคคลที่ทำหน้าที่คล้ายกับเป็นหมอหรือแพทย์ ก็คือ การพบสัญลักษณ์ที่อาจสันนิษฐานได้ว่าเกี่ยวเนื่องกับการเจ็บป่วย คือในโครง ที่ B.๑๐ หลุม BKI ที่ขุดโดยคณะสำรวจเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ ที่หมู่บ้านเก่า ตำบลจระเข้เผือก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
โครงนี้นอกจากจะมีเครื่องปั้นดินเผา ขวานหิน เปลือกหอยแล้ว ยังมีวัตถุอื่นที่แปลกออกไปจากโครงอื่นๆ อีก ๒ อย่าง ชิ้นหนึ่ง เป็นแผ่นหินรูปกลม มีรูเจาะตรงกลาง ขอบค่อนข้างคม มีรอยชำรุดเล็กน้อย และมีรอยกะเทาะค่อนข้างชัดเจน ๒ รอย ผิวขัดเล็กน้อยให้เรียบ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๒๕.๑ เซนติเมตร รูที่เจาะกว้าง ๗.๑ เซนติเมตร ขนาดของรูไม่โตพอที่จะสอดเข้าไปในแขนได้ อีกชิ้นหนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเขากวางข้างหนึ่ง (Cervus unicolor equinus) กิ่งแรกที่แยกออก (กิ่งรับหมา) ได้ถูกตัดออกไป ที่รอยตัดถูกทำให้เป็นรูกลวง ส่วนของเขาที่ต่อขึ้นไปถูกทำให้เกลี้ยง แล้วตัดที่ปลายกิ่งที่แยกออกไป ๒ กิ่ง ถัดเข้ามาเป็นรอยควั่น ขนานกับรอยตัดกิ่ง ทำให้เป็นรูเช่นเดียวกับกิ่งแรกขนาดยาว ๓๒.๕ เซนติเมตร ในรายงานสมบูรณ์ นายซอเรนเซน (Mr.Sorensen) แจ้งว่า ไม่ทราบว่าใช้สำหรับทำอะไร แต่ในรายงานย่อยสันนิษฐานว่าโครงที่พบกับเครื่องมือดังกล่าวอาจทำหน้าที่เป็นหมอ และเขากวางใช้ในการพิธีรักษา ต่อมาในการ ขุดค้นที่ตำบลทัพหลวง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เป็นโครงของสมัยทวารวดี ก็ได้พบอีกชั้นหนึ่งแต่ชำรุด ชิ้นที่ ๓ ชาวบ้านขุดค้นได้จากหมู่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เป็นของยุคสำริด เป็นเขาของกวางขนาดใหญ่ มีขนาดยาวเพียง ๑๕ เซนติเมตร มีรอยตัดทั้งกิ่งรับหมาและกิ่งที่ต่อขึ้นไป แต่ไม่ยาวไปถึงส่วนที่จะแบ่ง เช่นที่พบที่หมู่บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี ชิ้นที่ ๔ พบที่ ตำบลโพธิ์หัก จังหวัดราชบุรี การพบนี้อาจจะมีคำโต้แย้ง เพราะโครงกระดูกทั้ง ๔ แห่งนี้ได้มีประเพณีนำส่วนใดส่วนหนึ่งของสัตว์ไปทำเป็นเครื่องเซ่น สัตว์ที่พบมากก็คือหมู โดยมากใช้ส่วนหัวของหมู พบได้เป็นจำนวนมากกับโครงกระดูกที่ขุดพบ แต่เขากวางเป็นของพบได้น้อย และส่วนที่เป็นเขาก็ไม่ได้ใช้เป็นอาหาร การใช้เขากวางจึงเป็นเหมือนเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งเป็นเครื่องใช้สอยถูกนำไปวางไว้เป็นเครื่องเซ่น การใช้เขากวางเป็นสัญลักษณ์เกี่ยวกับการแพทย์ ได้พบเป็นรายงานอีกแห่งหนึ่ง คือ การเขียนรูปแพทย์ (medical man) หรือหมอผี (witch doctor) ที่ผนังของถ้ำในเทือกเขาพีรีนีส (Pyrenees) มีชื่อว่า ถ้ำเลส์ ตรัวส์ แฟรร์ (Les Trois Freres) อยู่ในประเทศฝรั่งเศส ภาพที่เขียนเป็นภาพคน คลุมด้วยหนังของสัตว์ชนิดหนึ่ง มีส่วนขาและแขนเขียนลายเป็นแถบๆ แต่ที่หัวมีเขากวางติดอยู่ ประมาณว่าเป็นภาพที่เขียนในสมัย โอริกเนเซียน (Aurignacian) ในตอนกลางของทวีปยุโรป
จากข้อความดังกล่าว ประกอบกับคำอธิบายเป็นส่วนตัว จาก นายซอเรนเซน สันนิษฐานว่าเขากวางที่พบในประเทศไทยนั้น อาจใช้แต่งประกอบกับศีรษะของหมอผี หรือรูปสลักเป็นรูปคน แล้วเอาเขากวางที่ตัดตกแต่งแล้วไปประดับ ไม่ใช่เขากวาง ทั้งชิ้นประดับเช่นในรูป
การพบนี้อาจมีความสำคัญเกี่ยวกับการสืบเนื่องถึงพิธีกรรม ที่อาจทำสืบต่อกันมาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยหินใหม่ที่บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี (ประมาณ ๔,๐๐๐ ปี) ถึงสมัยทวารวดี ที่ตำบลทัพหลวง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม (๑,๒๐๐ ปี) หลักฐานประการที่ ๒ ที่แสดงว่าได้มีการรักษากันจริงๆ ก็ คือ การเจาะกะโหลกให้เป็นรูทะลุ ซึ่งศัพท์แพทย์ใช้ว่า ทรีไฟนิง (trephining) หรือ ทรีแพนนิง (trepanning) พบที่บ้านธาตุ ใกล้บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี และเป็นโครงกระดูกสมัยเดียวกัน คือ สมัยสำริด หรือสมัยโลหะ รูที่พบอยู่ทางด้านซ้ายของกะโหลกในบริเวณขมับ ซึ่งเป็นกระดูกเทมปอรัล (temporal bone) มีขนาด ๙ x ๑๐ มิลลิเมตร อยู่สูงจากรูหู ๔๐ มิลลิเมตร การเจาะรูในกะโหลกในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้พบหลายแห่งของโลก มนุษย์สมัยหินใหม่ที่อาศัยอยู่ในทวีปยุโรปก็ทำกัน พบได้หลายแห่ง พบมากในประเทศฝรั่งเศส พบได้บ้างในประเทศออสเตรีย โปแลนด์ รัสเซีย เยอรมนี และสเปน นอกจากทวีปยุโรปยังพบในบริเวณที่เป็นเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก พบใน
อเมริกาเหนือและใต้ ในแอฟริกาและเอเชีย เป็นการรักษาที่ไม่ตรงกับจุดประสงค์ของการแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งจะทำการ รักษาเมื่อมีหลอดโลหิตแตกในกะโหลก หรือเจาะแล้วเปิดกะโหลกให้กว้าง เพื่อรักษาก้อนทูมหรือหลอดเลือดที่แตกลึกเข้าไปในเนื้อสมอง แต่การกระทำในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อาจทำเพื่อปล่อยสิ่งที่บุคคลในสมัยนั้นเชื่อว่าทำให้เกิดการปวดศีรษะ
อย่างแรง หรือทำให้ผู้ป่วยเป็นลมบ้าหมู
หลักฐานเกี่ยวกับหมอผี และการรักษาซึ่งถือเป็นการแพทย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของประเทศไทยคงพบได้เพียง ๒
อย่างตามที่กล่าว แต่โรคที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ยังมีอีกหลายโรค แต่การศึกษายังไม่กว้างขวางพอที่จะกล่าวในขณะนี้ได้
ในการขุดค้นที่หมู่บ้านเก่า ตำบลจระเข้เผือก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ได้พบหลักฐานการเป็นโรค คือ
๑. มีกระดูกสันหลังส่วนเอวชิ้นที่ ๑ หัก พบหนึ่งโครง (B.K.I, B.I) มีผลทำให้ส่วนตัวของกระดูก (body) แฟบลงไป และทำ ให้ข้อต่อของกระดูกสันหลังติดกัน เคลื่อนไหวไม่ได้ดี (spondylosis)
๒. มีฟันผุและมีรอยลึกในด้านเคี้ยวมากกว่าปกติ
๓. มีกระดูกกะโหลกหนาที่บริเวณกระดูกพาไรอีตัล(parietal bone) บางโครงหนาถึง ๑๑ มิลลิเมตร หนาเนื่องจากเนื้อฟองน้ำหนาขึ้นและชิ้นกระดูกฟองน้ำมีเนื้อหยาบ เกิดจากโรคโลหิตจางชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งยังไม่อาจยืนยันได้ว่าเกิดจากเป็นโรคเนื่องจากสีเลือดหรือไม่ ขณะนี้กำลังศึกษาและค้นคว้าต่อไป พร้อมกับโครงกระดูกที่แสดงการรักษาด้วยวิธีเจาะกะโหลก ได้พบโรคที่เกิดขึ้นกับข้อต่อตะโพกข้างซ้าย ให้คำสันนิษฐานว่าเป็น โรคเปอร์ที (Perthe's disease) อันเป็นสาเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในส่วนหัวและส่วนคอของกระดูกต้นขาข้างนั้น ส่วนหัวหายไปหมด คงเหลือแต่ส่วนคอเพียงเล็กน้อย และมีผลทำให้หลุมที่รับหัวกระดูกต้นขา (acetabulum) เล็กและตื้น
จากแหล่งที่มีการขุดค้นเกี่ยวกับเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ อาจพบโรคอื่นๆ ได้อีก แต่ยังไม่มีรายงานเป็นหลักฐานและอาจมีโรคอะคอนโดรเพลเซีย (Achondroplasia) ซึ่งเป็นโรคสืบต่อกันมาทางพันธุกรรมเป็นกับโครงหนึ่งในสมัยทวารวดีที่ตำบลภูขี้เบ้า จังหวัดขอนแก่น แต่ยังขาดหลักฐาน คือ กระดูกไม่ได้ถูกขุดขึ้นมาตรวจอย่างละเอียด
เนื่องจากหลักฐานที่มีอยู่ในประเทศไทยยังมีอยู่น้อย จึงอาศัยรายงานจากต่างประเทศมาเสริมเพื่อให้เห็นว่า มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในดินแดนประเทศไทยก็คงไม่แตกต่างกันมากไปจากมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งอื่นๆ ของโลก จึงอาจจะมีโรคต่างๆ ได้เช่นกัน

              ร่องรอยแรก ที่แสดงการเป็นโรคในมนุษย์ซึ่งยอมรับกันทั่วไปก็คือ กระดูกต้นขาของมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในโลกเมื่อประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว ซึ่งพบโดย ดร.ดูบัวส์ (Dr.D. Dubois) เมื่อ ค.ศ. ๑๘๙๑ ที่เกาะชวา ที่มีชื่อเดิมว่า ปิธีแคนโทรปุส อีเร็กตุส (Pithecanthropus erectus) ขณะนี้เรียกว่าโฮโม อีเร็กตุส (Homo erectus) เพราะยอมรับในการมีลักษณะของมนุษย์ ซึ่งอยู่ในสกุล (genus) เดียวกับมนุษย์ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นสกุลโฮโม กระดูกต้นขาที่พบมีบริเวณใกล้ปลายบน มีกระดูกงอกยื่นออกไปเป็นปุ่มป่ำ บางคนให้เป็นกระดูกงอกธรรมดา บางคนให้เป็นก้อนทูมของกระดูก (osseous tumour) ในมัมมี่ของชาวอียิปต์ พบโรคกระดูกและข้ออักเสบ (osteoarthritis) และโรครูมาติสม์เรื้อรัง (chroniceumatism) โรคเกาต์ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ นิ่วในถุงน้ำดี วัณโรคของกระดูกสันหลังและพบร่องรอยของการอักเสบที่เป็นมาก่อนของไส้ติ่ง แล้วมีเนื้อเยื่อพังผืดมายึดติดล้อมรอบ
ตลอดระยะเวลาอันยาวนานกว่า ๓,๐๐๐ ปี มนุษย์ที่อาศัยในดินแดนที่เป็นประเทศไทยเจริญขึ้น เปลี่ยนจากการใช้หินเป็นวัตถุทำเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับมาเป็นสำริด และเหล็ก หลักฐานเกี่ยวกับการเจ็บป่วยหรือการแพทย์มีน้อยมาก จากความรู้ปัจจุบันในการสะเดาะเคราะห์ผู้ป่วย หมอทางไสยศาสตร์มักทำพิธี เอาดินเหนียวมาปั้นเป็นรูปคน รูปสัตว์ พร้อมทั้งทำกระทงมีของกินคาวหวาน ผลไม้ จุดธูปเทียน แล้วลอยไปตามน้ำพร้อมกับรูปปั้น แต่ในที่บางแห่งก็ใช้รูปปั้นวางไว้ตามทางสามแพร่ง แล้วหักคอเสีย เป็นพิธีที่เรียกว่า "พิธีเสียกบาล" แต่เท่าที่มีแสดงในภาพ เป็นหญิง ๒ คน คนหนึ่ง ที่กำลังอุ้มเด็กอยู่เป็นคนมีอายุมากกว่าอีกคนหนึ่ง เพราะมีนมคล้อยไปมากอีกภาพหนึ่ง ส่วนที่กำลังอุ้มหักหายไป ทำให้ไม่ทราบว่ากำลังอุ้มอะไรอยู่ ลักษณะของเต้านมกำลังคัด แสดงว่าท้องใกล้คลอดหรือพึ่งคลอดใหม่ๆ ตุ๊กตาทั้งสองตัวได้มาจากจังหวัดสุโขทัย ไม่ทราบประวัติ แต่ที่ต้องนำเรื่องเกี่ยวกับสุโขทัยมากล่าวก่อน ก็เนื่องจากในการทำเหมืองแร่ดีบุกโดยวิธีฉีดน้ำเข้าไปทำลายดินที่มีดีบุกปะปนอยู่ (เหมืองฉีด) ที่จังหวัดราชบุรีใกล้เขตแดนประเทศพม่า ได้พบตุ๊กตาทำด้วยดินเผา ปั้นไม่มีหัว แต่ที่บริเวณคอทำกลวงลงไป คล้ายทำไว้สำหรับเสียบหัว พบ ชัดเจน ๓ ตัว ตัวหนึ่งทำคล้ายเป็นรูปคนนั่งพนมมือ อีกตัวหนึ่งทำเป็นรูปคล้ายคนยืน แต่ส่วนขาหักไป ที่มือคล้ายถืออะไรอยู่ บอกไม่ได้ว่าเป็นอะไร รูปที่ปั้น ปั้นได้สวยงามมากก็คือ รูปคนขี่ม้าไม่มีหัว มีคอกลวงเหมือน ๒ ตัวแรก แต่รูปม้าทำเป็น ๒ ซีกประกบกัน ของที่พบที่เหมืองแร่ใกล้พรมแดนพม่านี้ แม้ขณะนี้จะยังไม่ทราบแน่ว่าอยู่ในสมัยที่ใช้วัตถุอะไรทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ แต่เนื่องจากได้พบเครื่องมือสมัยหินใหม่จำนวนมาก และมีเครื่องสำริดบ้างเล็กน้อย ทำให้สันนิษฐานว่า หลังจากการใช้สัญลักษณ์เป็นเขากวางแล้ว การรักษาการป่วยไข้ ในสมัยต่อมา ได้มีรูปปั้นสะเดาะเคราะห์ผู้ป่วยใช้ด้วย และประเพณีนั้นได้สืบต่อมาจนถึงสมัยสุโขทัย (ประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐-๑๙๒๐)
          ถัดขึ้นไปจากสมัยสุโขทัย ประเทศไทยอยู่ในสมัยใกล้ประวัติศาสตร์ (Protohistory) คือสมัยทวารวดี (พ.ศ. ๑๐๐๐ - ๑๕๐๐)หลักฐานเกี่ยวกับการแพทย์คือ การพบเขากวาง ที่ตำบลทัพหลวง จังหวัดนครปฐม ซึ่งมีลักษณะเหมือนที่พบที่บ้านเก่าตามที่ได้กล่าวมา ขณะนี้ยังไม่มีร่องรอยของหลักฐานอื่นๆ ในระยะเวลานี้ประเทศไทยมีการติดต่อกับประเทศใกล้เคียง ประเทศที่ติดต่อกันมากควรจะเป็นประเทศอินเดีย เพราะนอกจากการแพร่ของพุทธศาสนาเข้ามาสู่ประเทศไทยแล้ว ประเทศไทยอาจรับลัทธิฮินดูพร้อมกับศิลปะวิทยาอื่นๆ เข้ามาด้วย ซึ่งอาจจะมีวิชาการแพทย์อยู่ด้วย จึงน่าจะได้พิจารณาการแพทย์ของประเทศอินเดียในสมัยนั้น ซึ่งอาจจะเผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทย เพราะประเทศไทย ได้รู้จักบุคคลสำคัญในทางแพทย์ของประเทศอินเดียคือ ท่านชีวกโกมารภัจจ์ดีเท่ากับคนอินเดียส่วนมาก นอกนั้นก็มีบันทึกเกี่ยวกับปรัชญาและวิชาการทางวิทยาศาสตร์บ้าง